KKP Contact Center :
02 165 5555
บริการข้อมูลบัญชีเงินฝาก (My Account): ตรวจสอบยอดเงินในบัญชี และเรียกดูรายการเดินบัญชีย้อนหลังได้ตลอด 24 ชั่วโมง | |
การจัดการบัญชี (Manage Account): เพิ่ม ลด และแก้ไขบัญชีตนเอง และบัญชีผู้อื่น | |
บริการโอนเงิน (Fund Transfer): บริการโอนเงินระหว่างบัญชีตนเองหรือผู้อื่นภายในธนาคาร และบริการโอนเงินต่างธนาคาร พร้อมบริการโอนเงินแบบโอนประจำ (Recurring Transfer) | |
บริการชำระเงินด้วย QR Code (QR Code Payment) | |
บริการชำระค่าสินค้าและบริการ (Bill Payment) บริการหักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน เพื่อชาระค่าสินค้าและบริการต่างๆ | |
บริการเตือนเพื่อจ่าย (PayAlert) | |
บริการลงทะเบียน KKP พร้อมเพย์ (KKP PromptPay Registration) | |
บริการเรียกดูข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร (News and Update) |
บริการเรียกดูข้อมูลบัญชีเงินฝาก (My Account)
การจัดการบัญชี (Manage Account)
บริการโอนเงิน (Fund Transfer)
1. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีตนเองภายในธนาคาร (Between your KKP account) โอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากของท่าน ทั้งบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวัน
2. บริการโอนเงินบัญชีบุคคลอื่นภายในธนาคาร (To other KKP account) โอนเงินในบัญชีเงินฝากของท่าน จากบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวัน ไปยังบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันของบุคคลอื่นภายในธนาคาร
3. บริการโอนเงินต่างธนาคาร (To other bank's account)
แบบที่ 1 เงินโอนเข้าบัญชีทันที
แบบที่ 2 เงินโอนเข้าบัญชีภายในวันเดียวกับวันที่ทำรายการ (SMART Same Day)
วันกำหนดรับเงิน
| การทำรายการ | การหักเงินและค่าธรรมเนียม | เงินเข้าบัญชีผู้รับปลายทาง
| |
วัน | ภายในเวลา | |||
วันที่ D | วันที่ D | 10:30 น. | วันที่ D ภายในครึ่งชั่วโมง หลังทำรายการ | วันที่ D ภายใน 17:00 น. |
วันที่ D | ตั้งรายการล่วงหน้า | วันที่ D ภายในช่วงเช้า | วันที่ D ภายใน 17:00 น. |
แบบที่ 3 เงินโอนเข้าบัญชีภายในวันทำการถัดไปนับจากวันที่ทำรายการ (SMART Next Day)
วันกำหนดรับเงิน
| การทำรายการ | การหักเงินและค่าธรรมเนียม | เงินเข้าบัญชีผู้รับปลายทาง
| |
วัน | ภายในเวลา | |||
วันที่ D | วันที่ | 10:30 น. | วันที่ D-1 ภายในครึ่งชั่วโมง | วันที่ D |
วันที่ D | ตั้งรายการล่วงหน้า | วันที่ D-1 ภายในช่วงเช้าของวันกำหนดรับเงิน | วันที่ D |
หมายเหตุ:
วงเงินในการทำธุรกรรม
บริการ | วงเงินรวมสูงสุด/ รายการ | วงเงินรวมสูงสุด/ วัน |
1. โอนเงินระหว่างบัญชีตนเองภายในธนาคาร | ไม่จำกัดวงเงิน | ไม่จำกัดวงเงิน |
2. โอนเงินไปยังบุคคลอื่นภายในธนาคาร | 1,000,000 บาท | 1,000,000 บาท |
3. โอนเงินต่างธนาคาร และโอนเงินพร้อมเพย์ (PromptPay) | 1,000,000 บาท | 1,000,000 บาท |
4. การชำระค่าสินค้าและบริการ | 500,000 บาท | 500,000 บาท |
หมายเหตุ: ลูกค้า KKP e-Banking ที่เปิดใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities จะสามารถใช้วงเงินในการทำธุรกรรมสูงสุดได้ตามตาราง วงเงินในการทำรายการ ของบริการ KKP e-Banking @KKP Securities
ลูกค้าประเภทบุคคลธรรมดา*
*กรณีบัญชีนิติบุคคล/บัญชีร่วมไม่สามารถสมัครบริการ KKP e-Banking @KKP Securities ได้
ขั้นตอนการสมัคร
รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้บริการ KK e-Banking @KKP Securities
1. ช่องทางเว็บไซต์
2. ช่องทาง Mobile Application
เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ
รหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password)
ผู้ใช้บริการจะต้องเก็บรักษารหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไว้ในที่ปลอดภัยและถือเป็นความลับเฉพาะตัวของผู้ใช้บริการรายนั้นเท่านั้นไม่ควรเปิดเผยรหัสประจำตัวและรหัสผ่านให้บุคคลอื่นทราบ ในกรณีที่เกิดการสูญหายหรือหลงลืม ผู้ใช้บริการสามารถทำการขอรับรหัสผ่านใหม่ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.phatraedge.com ได้ด้วยตนเองหรือติดต่อบล.ภัทรผ่าน Phatra Contact Center 02 305 9559 หรือติดต่อธนาคารผ่าน KKP Contact Center 02 165 5555 เพื่อโอนสายไปยัง Phatra Contact Center
หมายเลขโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) และอีเมล (Email)
หมายเลขโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) และอีเมล (Email) เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ใช้บริการทำการยืนยัน และให้ไว้แก่ธนาคารเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร และการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างธนาคาร และผู้ใช้บริการ
ระบบรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลของบริการ
ธนาคารได้เลือกใช้เทคโนโลยีในระดับชั้นนำในการรักษาความปลอดภัยของการทำธุรกรรมต่างๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
การแจ้งปัญหาการใช้งาน และการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์เบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้บริการดังกล่าว หากมีข้อมูลใดขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ ให้ใช้ข้อมูลตามข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการแทน
OTP คืออะไร
OTP (One Time Password) คือ รหัสผ่านชั่วคราวที่ใช้เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านระบบ KKP e-Banking @KKP Securities ซึ่ง OTP จะใช้ได้เพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งธุรกรรมเท่านั้น ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้ โดยธนาคารจะทำการส่ง OTP ในรูปแบบ SMS ผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับธนาคารเท่านั้น
ประโยชน์ของ OTP
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัย ป้องกันการทุจริต และโจรกรรมข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
ระยะเวลาหมดอายุของ OTP
อายุการใช้งานของรหัสผ่าน OTP จะสิ้นสุดภายใน 5 นาทีเท่านั้น ดังนั้นหากเกินเวลาที่กำหนด ท่านจำเป็นต้องขอ OTP ใหม่อีกครั้ง
จำนวนครั้งในการกรอก OTP
หากกรอกรหัสผ่าน OTP ผิดเกิน 3 ครั้ง ท่านจะไม่สามารถทำธุรกรรมที่ใช้ OTP เดิมได้ ซึ่งจะต้องขอรับรหัสผ่าน OTP ใหม่อีกครั้ง
วิธีใช้งาน OTP
เมื่อได้รับ OTP ผ่านทาง SMS แล้ว (OTP ครั้งล่าสุด) ให้นำ OTP กรอกลงในช่องที่กำหนดไว้ โดยสามารถตรวจสอบ OTP ได้ว่าตรงกับธุรกรรมที่กำลังดำเนินการได้ โดยสังเกตที่ OTP Reference ในหน้าจอระบบ และ ในข้อความ SMS
รายละเอียด | อัตราค่าธรรมเนียม |
1. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ KKP e-Banking |
|
1.1 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
1.2 ค่าธรรมเนียมรายปี | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2. ค่าธรรมเนียมการทำรายการผ่าน บริการ KKP e-Banking |
|
2.1 การโอนเงินระหว่างบัญชีตนเองภายในธนาคาร | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.2 การโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นภายในธนาคาร | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.3 การโอนเงินต่างธนาคาร | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.4 การโอนเงินพร้อมเพย์ (PromptPay) | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.5 การชำระค่าสินค้าและบริการ Cross-Bank Bill Payment | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.6 การชำระค่าสินค้าและบริการ |
|
- ค่าเช่าซื้อรถยนต์กับธนาคาร | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
- ค่าสินค้า/บริการกับผู้ให้บริกรอื่นที่มิใช่ธนาคาร | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.7 เตือนเพื่อจ่าย (PayAlert) |
|
2.7.1 การเรียกเตือนเพื่อจ่าย (PayAlert - Request) | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
2.7.2 การชำระเงิน |
|
- ชำระเงินจากการเรียกเก็บเงินทั่วไป | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
- ชำระเงินจากการเรียกเก็บเงินที่มีรหัส (Ref. Code) | ไม่คิดค่าธรรมเนียม |
หมายเหตุ:
(?)KKP e-Banking @KKP Securities คืออะไร
บริการ KKP e-Banking@KKP Securities เป็นบริการธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ตของธนาคารเกียรตินาคินภัทรสำหรับลูกค้าธนาคารที่มีบัญชีการลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) (“บล.ภัทร”) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการบริหารจัดการด้านการเงินและการลงทุนได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นบนระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ได้มาตรฐาน เพื่อการบริการครบวงจรของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โดยบริการ KKP e-Banking @KKP Securities นี้ รองรับการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น การเรียกดูยอดเงินคงเหลือและรายการเดินบัญชี และการทำธุรกรรมโอนเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของธนาคารรวมถึงข้อเสนอพิเศษที่ธนาคารได้คัดสรรมาให้เฉพาะ
(?)KKP e-Banking @KKP Securities แตกต่างจาก KKP e-Banking อย่างไร
บริการ KKP e-Banking @KKP Securities เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทาธุรกรรมทางการเงินของธนาคารเกียรตินาคินภัทร โดยให้บริการทางช่องทาง Online ผ่านเว็บไซต์ www.phatraedge.com และ Mobile Application ของ บล. ภัทร แต่บริการ KKP e-Banking ของธนาคารนั้น จะให้บริการผ่านเว็บไซต์และ Mobile Application ของธนาคาร โดยมีขั้นตอนการสมัครใช้บริการที่แตกต่างกัน รวมไปถึงรหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้บริการก็จะแตกต่างกันด้วยอย่างไรก็ตาม บริการ KKP e-Banking @KKP Securities ยังสามารถให้บริการพื้นฐานได้เหมือนกับบริการ KKP e-Banking ของธนาคาร ดังนี้
(?)วิธีการสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities
ลูกค้าประเภทบุคคลธรรมดา
ขั้นตอนการสมัคร
(?)การสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities ต้องใช้เวลากี่วัน
หลังจากที่ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities และได้รับอีเมลยืนยันการสมัครใช้บริการแล้ว ท่านสามารถใช้บริการได้ในทันที
(?)กรณีที่ยังไม่สามารถสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities เกิดจากสาเหตุใด
หากท่านสนใจใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities กรุณาติดต่อเพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร หรือแก้ไขข้อมูลของท่านได้ที่ธนาคารเกียรตินาคินทุกสาขาทั่วประเทศ หลังจากนั้นท่านจึงจะสามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ในการสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities
(?)กรณีที่ยังไม่สามารถสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities เกิดจากสาเหตุใด
หากท่านสนใจใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities กรุณาติดต่อเพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร หรือแก้ไขข้อมูลของท่านได้ที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขาทั่วประเทศ หลังจากนั้นท่านจึงจะสามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ในการสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities
(?)หลังจากการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเกียรตินาคินภัทรจะต้องรอกี่วันเพื่อสมัครใช้ KKP e-Banking @KKP Securities
ทางธนาคารจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันทำการหลังจากท่านได้ดำเนินการเปิดบัญชีเงินฝากผ่านทางสาขาธนาคารเสร็จสิ้น
(?)การกำหนดและการตั้งค่า Password มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดอย่างไร
มีความยาว 8-10 หลัก ประกอบด้วยทั้งตัวเลข ตัวอักษรตัวใหญ่ และตัวอักษรตัวเล็ก และต้องกำหนดให้แตกต่างจากรหัสประจำตัว (Username)
(?)การเพิ่มบัญชีตนเองต้องดำเนินการอย่างไร
ท่านสามารถทำรายการเพิ่มบัญชีตนเองได้ผ่านบริการ KKP e-Banking @KKP Securities โดยวิธีการดังนี้
วิธีที่1 เพิ่มบัญชีตนเองผ่านเมนูบัญชีของฉัน
วิธีที่ 2 เพิ่มบัญชีตนเองผ่านเมนูจัดการบัญชี
(?)การเพิ่ม Biller List ต้องดำเนินการอย่างไร
(?)หากเคยมีรหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password) กับบริการ KKP e-Banking กับทางธนาคารอยู่แล้ว จะสามารถใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities ได้เลยหรือไม่
เนื่องจากรหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ท่านใช้ล็อกอินเข้าใช้บริการ KKP e-Banking กับธนาคารนั้น จะเป็นข้อมูลคนละชุดกับ การล็อกอินเข้าใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities
ดังนั้น หากท่านต้องการสมัครใช้บริการ KKP e-Banking @KKP Securities ท่านจะต้องดำเนินการเปิดบัญชีและสมัครใช้บริการเว็บไซต์ Phatra Edge ให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน พร้อมทั้งมี รหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้งาน จากนั้นจึงจะสามารถสมัครใช้บริการดังกล่าวได้
(?)รหัสผ่าน OTP จะหมดอายุภายในกี่นาที หลังจากที่ระบบส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือที่ได้ลงทะเบียนไว้กับธนาคาร
รหัสผ่าน OTP มีอายุการใช้งาน 5 นาที
(?)สามารถกำหนดค่าวงเงินสูงสุดต่อรายการ (สำหรับการทำรายการไปยังบุคคลอื่น)ได้หรือไม่ และกำหนดอย่างไร
บริการ KKP e-Banking @KKP Securities ยังไม่รองรับให้ผู้ใช้บริการกำหนดค่าวงเงินสูงสุดต่อรายการ (สำหรับการทำรายการไปยังบุคคลอื่น) ได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันระบบกำหนดวงเงินสูงสุดไว้ให้ที่ 1,000,000 บาทต่อรายการ
(?)บริการโอนเงินมีการจำกัดเวลาทำการหรือไม่ และหากต้องการยกเลิกคำสั่งการตั้งเวลาทำรายการล่วงหน้าต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน
ท่านสามารถส่งคำสั่งธุรกรรมทางการเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่กำหนดเวลาในการหักยอดเงินและเวลาในการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินจะแตกต่างกันตามกัน ขึ้นอยู่เงื่อนไขของเวลา Cut-off time ที่ธนาคารกำหนดไว้ตามประเภทของการโอนเงิน
การยกเลิกรายการที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าสามารถทำได้เฉพาะกรณีที่สถานะของรายการเป็น “รอประมวลผล” (pending) เท่านั้น ในกรณีที่สถานะเป็น “ประมวลผล” (processing) จะไม่สามารถทำรายการยกเลิกได้
(?)เมื่อ Login เข้าระบบแล้วไม่พบข้อมูลของบัญชีเงินฝากเพราะอะไร และต้องทำอย่างไร
เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการผู้ใช้บริการจำเป็นจะต้องเพิ่มบัญชีตนเอง โดยขั้นตอนการเพิ่มบัญชีตนเองสามารถเข้าสู่เมนู My account หรือเข้าสู่เมนู Transfer และกด Manage Account จากนั้นกด add account และเข้าสู่ขั้นตอนเพิ่มบัญชีตนเอง
(?)กรณีลืมรหัสผ่าน (Forgot Password) จะต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อลืมรหัสผ่าน (Password) ท่านสามารดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่1: การขอรับรหัสผ่านใหม่ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.phatraedge.com ด้วยตนเอง
วิธีที่2: ติดต่อ Contact Center
ท่านสามารถแจ้งระงับรหัสผ่านชุดเดิมและขอรหัสผ่านชุดใหม่ได้โดยติดต่อ Phatra Contact Centerที่ 02 305 9559 หรือติดต่อ ธนาคารผ่าน KKP Contact Center 02 165 5555 เพื่อโอนสายไปยัง Phatra Contact Center
(?)กรณีลืม PIN จะต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อลืม PIN ท่านสามารดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่1: ขอรับ PIN ใหม่ผ่าน Mobile Application ได้ด้วยตนเอง
วิธีที่2: ติดต่อ Contact Center
(?)กรณีที่ไม่สามารถ Login ได้ เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และสามารถแก้ไขได้อย่างไร
ในกรณีที่ไม่สามารถ Login อาจเกิดจาก Username หรือ Password ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้บริการจำเป็นต้องตรวจสอบ Username หรือ Password ในการเข้าสู่ระบบนั้นถูกต้องหรือไม่ หากเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าใช้งานได้ จำเป็นจะต้องส่งให้กับทาง Phatra เพื่อดำเนินการต่อไป
(?)กรณีที่ไม่สามารถ Login ได้ เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และสามารถแก้ไขได้อย่างไร
ในกรณีที่ไม่สามารถ Login อาจเกิดจาก Username หรือ Password ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้บริการจำเป็นต้องตรวจสอบ Username หรือ Password ในการเข้าสู่ระบบนั้นถูกต้องหรือไม่ หากเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าใช้งานได้ จำเป็นจะต้องส่งให้กับทาง Phatra เพื่อดำเนินการต่อไป
(?)กรณีกรอกรหัสผ่าน (Password) ไม่ถูกต้อง 5 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้ จะต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถติดต่อบล.ภัทรผ่าน Phatra Contact Center 02 305 9559 หรือติดต่อธนาคารผ่าน KKP Contact Center 02 165 5555 เพื่อโอนสายไปยัง Phatra Contact Center
(?)กรณีกรอกรหัสผ่าน OTP ไม่ถูกต้อง 3 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถใช้งานรหัสผ่าน (OTP) ได้ จะต้องทำอย่างไร
ท่านสามารถกดขอรหัสผ่าน OTP ใหม่อีกครั้งเพื่อดำเนินการทำธุรกรรมนั้นๆ ต่อไป
(?)หากรายการโอนเงินมีปัญหา เช่น โอนผิดบัญชีและต้องการแจ้งตรวจสอบสามารถแจ้งผ่าน Phatra ได้หรือไม่และ ระยะเวลาการตรวจสอบกี่วัน
ในกรณีรายการโอนเงินมีปัญหา ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น โดยติดต่อธนาคารผ่าน KKP Contact Center 02 165 5555 หรือติดต่อ Phatra Contact Center 02 305 9559 เพื่อโอนสายทางไปยัง KKP Contact Center โดยธนาคารจะใช้เวลาอย่างน้อย 5 วันทำการในตรวจสอบแก้ไขปัญหา
(?)หลังจากมีการแจ้งแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อมูลกับธนาคารจะต้องรอกี่วันก่อนการสมัครใช้ KKP e-Banking @KKP Securities
ทางธนาคารจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันทำการ หลังจากท่านแจ้งแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลผ่านทางสาขาธนาคาร
(?)ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือควรดำเนินการอย่างไร
ท่านสามารถติดต่อแก้ไขข้อมูลของท่านได้ที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขาทั่วประเทศ