ic_การลงทุน

กองทุนเปิดเคเคพี โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ ชนิดทั่วไป : KKP G-UBOND-H

กองทุนตราสารหนี้โลกที่ไปได้กับทุกสภาวะตลาด

กองทุนเปิดเคเคพี โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ ชนิดทั่วไป : KKP G-UBOND-H
  • 23 พ.ย. 2563
  • 9,094
KKP-Global-u-Bond-Fund_1620x340 (1)
KKP-Global-u-Bond-Fund_628x443 (1)

กองทุนเปิดเคเคพี โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ ชนิดทั่วไป

KKP G-UBOND-H

นโนบายกองทุน : ลงทุนในกองทุนหลัก "Jupiter Global Fund- Jupiter Dynamic Bond" ซึ่งกองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก บริหารจัดการโดย Jupiter Asset Management

กองทุนจะใช้กลไกของทาง กลุ่ม KKP อย่างเป็นระบบทำการคัดเลือกตราสารทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ตราสารทางเลือก และกองทุนตปท. เบ็ดเสร็จในกองทุนเดียว

ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 6

ลงทุนในต่างประเทศทั้งหมด

จำนวนเงินขั้นต่ำ 1,000 บาท

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ารับทราบและตกลงให้ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อติดต่อกลับมายังข้าพเจ้า ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้อ่านรายละเอียดและรับทราบประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ที่ปรากฏในเว็บไซต์ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร  www.kkpfg.com/dataprotection สอบถาม/ยกเลิกการติดต่อ ได้ที่ KKP CONTACT CENTER โทร. 02 165 5555

คำเตือน/ข้อแนะนำ

  • ผลตอบแทนของกองทุนเปิดภัทร โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ จะขึ้นอยู่กับกองทุนหลักที่กองทุนลงทุน ดังนั้น หากผลตอบแทนของกองทุนหลักได้รับผลกระทบในทางลบจากปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อผลตอบแทนของกองทุนนี้ ผู้ลงทุนอาจมีโอกาสได้รับเงินคืนน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก
  • กองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนที่สามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง (high yield bond) ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่ออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade bond)  ตราสารหนี้ภาครัฐ  ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (convertible bond) และตราสารหนี้อื่น ๆ  โดยสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ investment grade และ non-investment grade ตามแต่ช่วงเวลาได้  ซึ่งในขณะใดขณะหนึ่ง กองทุนหลักอาจมีการลงทุนในตราสารหนี้ non-investment grade จำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลให้กองทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
  • กองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนโดยไม่มีกรอบจำกัดด้านอายุของตราสารหนี้ที่ลงทุน (duration) ดังนั้น กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาตราสารที่กองทุนหลักลงทุน และอาจทำให้มูลค่าของเงินลงทุน
  • กองทุนหลักมีกลยุทธ์ในการบริหารแบบเชิงรุก (active management) กองทุนจึงมีความเสี่ยงที่กลยุทธ์การลงทุน  การคัดเลือกและวิเคราะห์ตราสารที่ลงทุน การบริหารความเสี่ยง อาจไม่ได้เป็นไปตามที่ประเมินไว้ หรืออาจทำให้ผลตอบแทนของกองทุนไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง
  • เนื่องจากกองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กองทุนไปลงทุนด้วย
  • กองทุนหลักอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง ผู้ลงทุนควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และควรคำนึงถึงประสบการณ์การลงทุน วัตถุประสงค์การลงทุน ฐานะการเงินของผู้ลงทุนเอง  และผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
  • กองทุนหลักอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง (hedging) ได้ โดยปัจจุบันกองทุนหลักมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เงินลงทุนส่วนใหญ่กลับมาเป็นสกุลยูโร ซึ่งเป็นสกุลเงินฐาน (Base Currency) ของหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก อย่างไรก็ดี กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้
  • กองทุนเปิดภัทร โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของของเงินลงทุนในสกุลเงินยูโร ซึ่งเป็นสกุลเงินฐาน (Base Currency) ของหน่วยลงทุนของกองทุนหลักกลับมาเป็นสกุลเงินบาทเกือบทั้งหมด โดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ นอกจากนี้ 
  • การทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวอาจมีต้นทุน ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
  • ผู้ลงทุนควรพิจารณาค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนเช่น ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน (Front-end Fee) เป็นต้น เนื่องจากค่าธรรมเนียมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรพิจารณาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวก่อนการลงทุน
  • เนื่องจากกองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งวันหยุดทำการของกองทุนหลักที่กองทุนไปลงทุน อาจจะไม่ตรงกับวันหยุดทำการของประเทศไทย จึงอาจส่งผลกระทบต่อการส่งคำสั่งซื้อ/ขายคืน/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน และ/หรือระยะเวลาในการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วย/ผู้ลงทุน
  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนเปิดภัทร โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนเปิดนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้และโปรดศึกษาคำเตือนอื่นเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุน
  • ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการลดความเสี่ยงโดยสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง บริษัทจัดการจะใช้ข้อมูลในอดีตในการคำนวณค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (absolute correlation coefficient) กองทุนรวมจึงมีความเสี่ยง หากสินค้าหรือตัวแปรที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิง (underlying) และทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลในอดีต ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด อาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด เช่นเดียวกันกับที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด ลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด จะจัดให้มีระบบงานที่ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ผู้ถือหน่วยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ทีมการตลาดและพัฒนาช่องทาง โทร 0-2305-9855
  • บริษัทจัดการอนุญาตให้พนักงาน และ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อตนเองและ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และประกาศต่างๆที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และจะต้องเปิดเผยการลงทุนดังกล่าวให้บริษัทจัดการทราบ  เพื่อที่บริษัทจัดการจะสามารถกำกับ และดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน และ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้
  • ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้ขายหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และควรขอดูบัตรประจำตัวของบุคคลดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกให้ด้วย
  • ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ลงทุนสามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
  • ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน
  • ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูข้อมูลที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. (https://www.sec.or.th)
  • ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงได้ที่บริษัทจัดการ โดยวิธีที่บริษัทจัดการเปิดเผยไว้ที่สำนักงานของบริษัทจัดการ และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
  • บริษัทจัดการและ/หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่บริษัทจัดการแต่งตั้ง อาจพิจารณาขอข้อมูลเอกสาร หลักฐาน เพิ่มเติมจากผู้สนใจสั่งซื้อหน่วยลงทุน หรือผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนตามคำจำกัดความของกฎหมายหรือตามที่หน่วยงานที่มีอำนาจกำหนด ทั้งก่อน และหรือภายหลังการลงทุนในกองทุนไปแล้วทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย และประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติ หรือการตีความ หรือการสั่งการของหน่วยงานผู้มีอำนาจ ทั้งนี้ บริษัทจัดการและ/หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนมีหน้าที่ต้องทำความรู้จักตัวตนของลูกค้า (Know Your Client: KYC) และการพิสูจน์ทราบลูกค้า (Client Due Diligence: CDD) โดยผู้ลงทุน หรือผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับการรู้จักตัวตนของลูกค้า (KYC) และการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD) ให้บริษัทจัดการและ/หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนทราบ โดยตามแนวทางปฏิบัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินดังกล่าว บริษัทจัดการและ/หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายครอบคลุมทั้งการเปิดบัญชีเพื่อใช้บริการใหม่ 
  • การทำธุรกรรมของลูกค้าเดิม และการทบทวนข้อมูลลูกค้าให้เป็นปัจจุบันเป็นระยะๆ รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆ ตามที่หน่วยงานผู้มีอำนาจกำหนดแนวทาง
  • กองทุนรวมอาจมีการกระจุกตัวของการถือหน่วยลงทุนจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่ถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3 โดยผู้ถือหน่วยหรือผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้ที่ https://am.kkpfg.com/
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในเปิดภัทร โกลบอลอันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนเปิดนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
  • ในกรณีที่กองทุนเปิดภัทร โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ ไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่สำนักงานกำหนด ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
  • การพิจารณาร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้มิได้เป็นการแสดงว่าสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุน หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่เสนอขายนั้น
  • ในกรณีที่บริษัทจัดการเปิดให้บริการที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked Life Policy)
  • การลงทุนในหน่วยลงทุน มิใช่การฝากเงิน  ผู้ลงทุนภายใต้กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนอาจมีความเสี่ยง อาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันส่วนที่จัดสรรเข้ากองทุนรวม และอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
  • กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ ซึ่งผลการดำเนินงานของกองทุนรวมไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ  และบริษัทประกันชีวิตมีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนรวมควบรวมกรมธรรม์
  • เนื่องจากกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนมีข้อกำหนด เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติ  สิทธิประโยชน์ต่างๆ แตกต่างไปจากการซื้อขายกองทุนเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทจัดการ และบริษัทประกันชีวิตกำหนด  ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนนั้นให้เข้าใจก่อนตัดสินใจ  โดยสามารถติดต่อขอรับรายละเอียดเงื่อนไขของกรมธรรม์ คู่มือผู้เอาประกันภัย หรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการเสนอขายกรมธรรม์ ข้อมูลผลประโยชน์ทางด้านภาษีจากการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน หนังสือชี้ชวนของกองทุนและข้อมูลกองทุนที่
  • ผู้ลงทุนสนใจลงทุน ได้ที่บริษัทประกันชีวิต โดยผู้ลงทุนควรศึกษาเพื่อความเข้าใจก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
  • เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่นำไปลงทุนในกองทุนรวมจะมีความเสี่ยงตามระดับความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น ๆ  โดยกองทุนรวมไม่ได้ค้ำประกันทั้งเงินลงทุน และผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุน/ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนในทุกกรณี  เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่นำไปลงทุนในกองทุนรวมอาจอาจมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงเปลี่ยนแปลงตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ผู้ลงทุน/ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนเลือกลงทุน  โดยผู้ลงทุน/ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้
  • ผลตอบแทนและผลการดำเนินงานจากการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน อาจมีความแตกต่างกับการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนนี้เพียงอย่างเดียว อันเนื่องมาจากการคิดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน หรือ เงื่อนไขที่บริษัทจัดการ และบริษัทประกันชีวิตกำหนด
  • หากผู้ลงทุน/ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนมีเรื่องต้องการร้องเรียน ต้องแจ้งต่อบริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ตามวิธีการที่บริษัทประกันชีวิตและหรือหน่วยงานที่มีอำนาจกำหนด
  • ในการขอมติของผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน  บริษัทจัดการจะจัดส่งประเด็นในการขอมติและรายละเอียดอื่น ๆ ให้แก่บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันชีวิตจะส่งต่อให้แก่ผู้เอาประกันภัย ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน  และหลังจากที่บริษัทประกันชีวิตได้รวบรวมมติของผู้เอาประกันภัย แล้ว บริษัทประกันชีวิตจะนับมติและแจ้งผลให้บริษัทจัดการทราบภายในระยะเวลาตามที่ตกลงกัน
  • ผู้ลงทุนสามารถลงทุนในกองทุนนี้ในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน  (Unit-Linked Life Policy) ได้ โดยติดต่อบริษัทประกันชีวิตที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุนอาจมีข้อกำหนด และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างไปจากการซื้อขายกองทุนเพียงอย่างเดียว ผู้ลงทุนควบศึกษารายละเอียดในเอกสารประกอบการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน
  • กรณีผู้ลงทุนที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนจะได้รับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนจากบริษัทประกันชีวิตภายใน5 วันทำการนับแต่วันคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และ/หรือ คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศกำหนด หรือที่เห็นชอบให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่นได้  โดยมีวิธีการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนซึ่งเป็นไปตามที่บริษัทประกันชีวิตกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุน 
# อื่นๆ ที่น่าสนใจ
โปรโมชั่น
บทความที่เกี่ยวข้อง